วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

คุณค่าของสำนวน

คุณค่าของสำนวน



๑.) เป็นเครื่องอบรมสั่งสอนและชี้แนะให้เป็นคนดี
- ในด้านความรัก : คนเดียวหัวหาย สองคนเพื่อนตาย, น้ำพึ่งเสือพึ่งป่า
- ในด้านการศึกษาอบรม : ฝนทั่งให้เป็นเข็ม, สิบรู้ไม่เท่าชำนาญ
- ในการพูดจา : พูดดีเป็นศรีแก่ตัว พูดชั่วอัปราชัย ,พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง


๒.) สำนวนไทยช่วยสะท้อนให้เห็นความคิด ความเชื่อในสังคมไทย
- ความเคารพนอบน้อมผู้ใหญ่ เช่น เดินตามผู้ใหญ่หมาไม่กัด
- ความเชื่อเกี่ยวกับเรื่อกรรม เช่น ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
- ความเชื่อเกี่ยวกับการปกครอง เช่น บ้านเมืองมีขื่อมีแป
- ความเชื่อเกี่ยวกับเกียรติยศชื่อเสียง เช่น ชาติเสือต้องไว้ลาย ชาติชายต้องไว้ชื่อ


๓.) สะท้อนให้เห็นถึงภาวะความเป็นอยู่
- เกี่ยวกับเศรษฐกิจและการครองชีพ เช่น เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย
- เกี่ยวกับการทำมาหากิน เช่น น้ำขึ้นให้รีบตัก


๔.) ชี้ให้เห็นว่าคนไทยรักธรรมชาติเกี่ยวพันกันอย่างแยกไม่ออก จึงได้นำเอาลักษณะธรรมชาติสัตว์ ต้นไม้ ฯลฯ มาตั้งเป็นสุภาษิต คำพังเพย และสำนวนต่างๆ

๕.) การศึกษาสำนวนต่างๆ ช่วยทำให้เราใช้ภาษาได้ถูกต้องและสละสลวย ไม่ต้องใช้คำพูดที่เยิ่นเย้อยืดยาว แต่สามารถเรียกร้องความสนใจจากผู้อ่านได้มาก นอกจากนั้นการศึกษาสุภาษิต คำพังเพย และสำนวนของภาคต่างๆ ทำให้เราได้เรียนรู้ภาษาถิ่นไปด้วยในตัว

๖.) การเรียนรู้เรื่องสุภาษิต คำพังเพย และสำนวนต่างๆ เป็นการสืบต่อวัฒนธรรมของชาติเอาไว้มิให้สูญหาย และเกิดความภูมิใจที่บรรพชนได้คิดสร้างสิ่งเหล่านี้ไว้แกเเรา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น