วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

คุณค่าของสำนวน

คุณค่าของสำนวน



๑.) เป็นเครื่องอบรมสั่งสอนและชี้แนะให้เป็นคนดี
- ในด้านความรัก : คนเดียวหัวหาย สองคนเพื่อนตาย, น้ำพึ่งเสือพึ่งป่า
- ในด้านการศึกษาอบรม : ฝนทั่งให้เป็นเข็ม, สิบรู้ไม่เท่าชำนาญ
- ในการพูดจา : พูดดีเป็นศรีแก่ตัว พูดชั่วอัปราชัย ,พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง


๒.) สำนวนไทยช่วยสะท้อนให้เห็นความคิด ความเชื่อในสังคมไทย
- ความเคารพนอบน้อมผู้ใหญ่ เช่น เดินตามผู้ใหญ่หมาไม่กัด
- ความเชื่อเกี่ยวกับเรื่อกรรม เช่น ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
- ความเชื่อเกี่ยวกับการปกครอง เช่น บ้านเมืองมีขื่อมีแป
- ความเชื่อเกี่ยวกับเกียรติยศชื่อเสียง เช่น ชาติเสือต้องไว้ลาย ชาติชายต้องไว้ชื่อ


๓.) สะท้อนให้เห็นถึงภาวะความเป็นอยู่
- เกี่ยวกับเศรษฐกิจและการครองชีพ เช่น เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย
- เกี่ยวกับการทำมาหากิน เช่น น้ำขึ้นให้รีบตัก


๔.) ชี้ให้เห็นว่าคนไทยรักธรรมชาติเกี่ยวพันกันอย่างแยกไม่ออก จึงได้นำเอาลักษณะธรรมชาติสัตว์ ต้นไม้ ฯลฯ มาตั้งเป็นสุภาษิต คำพังเพย และสำนวนต่างๆ

๕.) การศึกษาสำนวนต่างๆ ช่วยทำให้เราใช้ภาษาได้ถูกต้องและสละสลวย ไม่ต้องใช้คำพูดที่เยิ่นเย้อยืดยาว แต่สามารถเรียกร้องความสนใจจากผู้อ่านได้มาก นอกจากนั้นการศึกษาสุภาษิต คำพังเพย และสำนวนของภาคต่างๆ ทำให้เราได้เรียนรู้ภาษาถิ่นไปด้วยในตัว

๖.) การเรียนรู้เรื่องสุภาษิต คำพังเพย และสำนวนต่างๆ เป็นการสืบต่อวัฒนธรรมของชาติเอาไว้มิให้สูญหาย และเกิดความภูมิใจที่บรรพชนได้คิดสร้างสิ่งเหล่านี้ไว้แกเเรา

แหล่งกำเนิดของสำนวนไทย

แหล่งกำเนิดของสำนวนไทย

เพิ่มคำอธิบายภาพ

           สำนวนเป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งของภาษาไทย เพราะเป็นคำพูดที่กลั่นกรองขึ้น เพื่อความสละสลวยของภาษาเป็นถ้อยคำที่คมคายกว่าคำพูดธรรมดา เป็นคำพูดที่รวมใจรวมความยาวๆให้สั้นลงได้ ก็จะทำให้ผู้ฟังสามารถเข้าใจง่าย ๆ
ฉะนั้นการศึกษาถ้อยคำประเภทนี้ไว้ เพื่อใช้ให้ถูกต้องเหมาะสมกับเนื้อเรื่องที่จะพูดจึงมีความจำเป็น สำนวนที่เราใช้กันในภาษาไทยนั้น ถ้าเราพิจารณาดูจะเห็นว่ามีมูลเหตุที่เกิดแตกต่างกันซึ่ง พอสรุปได้ดังนี้

๑.) เกิดจากธรรมชาติ เช่น ตื่นแต่ไก่โห่ น้ำซึมบ่อทราย ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น ปลาหมอตายเพราะปาก , แมลงเม่าบินเข้ากองไฟ เป็นต้น
๒.) เกิดจากการกระทำ เช่น แกว่งเท้าหาเสี้ยน ปลูกเรือนคร่อมตอ พายเรือคนละที ชุบมือเปิบ ปากว่ามือถึง ปิดทองหลังพระ เป็นต้น
๓.) เกิดจากศาสนา เช่น ขนทรายเข้าวัด ตักบาตรถามพระ ทำคุณบูชาโทษ คว่ำบาตร ผ้าเหลืองร้อน แพ้เป็นพระ ชนะเป็นมาร เป็นต้น
๔.) เกิดจาก นิยาย นิทาน ตำนาน และ พงศวดาร เช่น ลูกทรพี ปากพระร่วง กบเลือกนาย กระต่ายตื่นตูม เห็นกงจักรเป็นดอกบัว ชักแม่น้ำทั้งห้า กิ้งก่าได้ทอง เป็นต้น
๕.) เกิดจากแบบแผนประเพณีและความเชื่อ เช่นผีซ้ำด้ำพลอย กงกำกงเกวียน กระดูกร้องได้
กรรมตามทัน คนตายขายคนเป็น เป็นต้น

๖.) เกิดจากอุบัติเหตุ เช่น ตกกระไดพลอยโจน ตกน้ำไม่ไหลตกไฟไม่ไหม้ ดับไฟต้นลม เป็นต้น
๗.) เกิดจากการละเล่นหรือกีฬา เช่น รุกฆาต ไม่ดูตาม้าตาเรือ เข้าตาจน ไก่รองบ่อน เป็นต้น
๘.) เกิดจากความประพฤติ เช่น หาเช้ากินค่ำ กินข้าวร้อนนอนตื่นสาย ตำข้าวสารกรอกหม้อ ขี้เกียจสันหลังยาว เป็นต้น
๙.) เกิดจากอวัยวะ เช่น เส้นใหญ่ ตาเหลือง ตีนแมว ปากบอน ตีนเท่าฝาหอย หัวหกก้นขวิด เป็นต้น

ที่มาของสุภาษิต สำนวน คำพังเพยไทย




คุณรู้หรือไม่...
ว่าที่มาสุภาษิต สำนวน หรือคำพังเพย
ที่คุณใช้กัน มาจากไหน

คุณรู้หรือไม่...
ที่คุณพูดเปรียบเปรยกัน
บางคำยังใช้ผิดอยู่

พบกับเนื้อหาสนุกพร้อมภาพประกอบ
ที่จะทำให้คุณรักภาษาไท


 
 
 
 
 
 
ความหมายของสำนวน สุภาษิต พังเพย
 
 
 
 
 
 
 
 



สำนวน

เป็นคำนาม มีหลายความหมาย คือ
๑.ถ้อยคำที่เรียบเรียงหรือโวหาร และมีเสียงสัมผัสกัน บางทีก็ใช้ว่าสำนวนโวหาร เช่น สารคดีเรื่องนี้สำนวนโวหารดี ความเรียงเรื่องนี้สำนวนโวหารลุ่มๆดอนๆ เช่น ก่อร่าง สร้างตัว ขับไล่ไสส่งมีสัมผัสสระ

๒.ถ้อยคำหรือข้อความ ที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านานแล้ว มีความหมายไม่ตรงตัว มีลักษณะเป็นความเปรียบหรืออุปมาอุปไมยถึงสิ่งต่างๆ ดังนี้ อุปมา คือสิ่งหรือข้อความที่ยกมาเปรียบสิ่งหนึ่งว่าเหมือนอีกสิ่งหนึ่ง มักจะมีคำว่า เหมือน เปรียบเหมือนดุจดัง ส่วนอุปไมย คือ สิ่งหรือข้อความที่เปรียบเทียบกับสิ่งอื่นเพื่อให้เข้าใจแจ่มแจ้งใช้คู่กับอุปมา เช่น ขาวเหมือนสำลี เป็นการกล่าวเปรียบเทียบลักษณะของความขาวของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

๓.ถ้อยคำที่แสดงออกมา มีลักษณะเป็นคำคม คือ ถ้อยคำที่เป็นคารม หรือโวหารอันคมคายเป็นคำพูดที่ให้แง่คิด มีความหมายลึกซึ้งกินใจ เช่น มีวิชาเหมือนมีทรัพย์อยู่
นับแสน (สุนทรภู่) หรือเป็นถ้อยคำพิเศษเฉพาะภาษาหนึ่งๆ เช่นสำนวนฝรั่ง สำนวนบาลี

๔.มีลักษณะเป็นบุคลาธิษฐาน คือ สำนวนที่นำคำกริยาที่ใช้สำหรับมนุษย์ไปใช้กับสัตว์หรือสิ่งไม่มีชีวิต ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีอารมณ์กิริยา ความรู้สึกนึกคิดเหมือนคน เช่น น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า กระต่ายตื่นตูม วัวลืมตีน

๕.ชั้นเชิงหรือท่วงทำนองในการแต่งหนังสือหรือคำ พูด เช่นสำนวนเจ้าพระยาพระคลัง(หล)สำนวนยาขอบและลักษณนามใช้เรียกข้อความหรือบทประพันธ์รายหนึ่งๆ เช่น อิเหนามีหลายสำนวน บทความ ๒ สำนวน


สุภาษิต


เป็นคำนาม หมายถึง ถ้อยคำหรือข้อความ ที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านาน แต่มีเนื้อความหรือความหมายที่ดี เป็นคำตักเตือนสั่งสอน และสะกิดใจให้ระลึกถึงอยู่เสมอ มีอยู่ 2 ประเภท คือ

๑.คำสุภาษิตประเภทที่ พูด อ่าน เข้าใจเนื้อความได้ทันที คือเป็นข้อความสั้นๆ กินความลึกซึ้ง มีความหมายเป็นคติคำสอนหรือหลักความจริง โดยไม่ต้องแปลความหมาย ตีความหมาย เช่น ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว

๒.คำสุภาษิตประเภทที่ พูด อ่าน หรือฟังแล้วยังไม่เข้าใจเนื้อความนั้นในทันที ต้องนึกตรึกตรอง ต้องแปลความ ตีความหมายเสียก่อนจึงจะทราบเนื้อแท้ของคำเหล่านั้น เช่น ผีบ้านไม่ดีผีป่าก็พลอย
ดังนั้นคำว่า “สำนวน” ที่ใช้ในที่นี้จึงหมายถึงเฉพาะถ้อยคำที่มีความหมายไม่ตรงตัวอักษร มีความหมายเป็นเชิงเปรียบเทียบ มีท่านผู้รู้ท่านหนึ่งกล่าวว่า สำนวนเป็นคำพูดชนิดหนึ่งซึ่งไม่ได้วางหลักวิชาหรือให้คติอย่าไร เช่น หนังหน้าไฟ ,เกลือจิ้มเกลือ,บอดได้แว่น,เรื่อล่มเมื่อจอด,อาภัพเหมือนปูน

พังเพย


เป็นคำนาน หมายถึง ถ้อยคำที่เรียบเรียงขึ้นมาเป็นความหมายกลาง ๆ คือ ไม่เน้นการสั่งสอน แต่ก็แฝงคติเตือนใจหรือ ข้อคิดสะกิดใจให้นำไปปฏิบัติได้ และ เนื้อหาของใจความนั้นก็ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นความดี หรือ ความจริงแท้แน่นอน เพื่อให้ตีความเข้ากับเรื่อง มีความหมายลึกซึ้งกว่าสำนวน มีลักษณติชมหรือแสดงความเห็นในตัว แต่ยังไม่ได้วางหลักความจริงอันเที่ยงแท้ และยังไม่เป็นคำสอน เช่น กระต่ายตื่นตูม,ทำนาบนหลังคน ,ถี่ลอดตาช้าง ห่างลอดตาเล็น,เสียน้อยเสียยากเสียมากเสียง่าย,น้ำถึงไหน ปลาถึงนั้น เป็นต้น

ที่มาข้อมูล : thaigoodview.com
: sema.go.th
: dek-d.com
ที่มารูปภาพ : thaigoodview.com




 

วันจันทร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สุภาษิตไทย


 สุภาษิตบ่งชี้ชาวไทย
สอนสั่งบอกความนัยแห่งถ้อย
สำนวนต่างนำไขขยายบอก ...มาแม่
คำต่อคำเรียงร้อยแต่งล้วนโคลงหวาน  

๑. กงเกวียนกำเกวียน
เวรสนองเวร  กรรมสนองกรรม
    กงเวียนหมุนเล่นล้อรอยกง
เปรียบเฉกกรรมหมายตรงสู่เจ้า
ใครทำก่อกรรมคงคืนสู่  ใครแล
กรรมย่อมตามรอยเข้าแก่ผู้กอบกรรม

๒.กบในกะลาครอบ

ผู้มีความรู้ประสบการณ์น้อย แต่สำคัญตนว่ามีความรู้มาก

     กะลาครอบคิดฟ้า กว้างไกล
 เหมือนดั่งคนภูมิใจ  เก่งกล้า
 คุยโอ่อวดเกินไป เขาเบื่อ  หน่ายนอ
 เพียงหนึ่งจากมือคว้า เท่านี้กลับหลง


๓.กบเลือกนาย

ผู้ที่ต้องการเปลี่ยนผู้บังคับบัญชา
     มีนายนายไม่ต้องชะตา
 นายกี่คนสรรมาขุ่นข้อง
 เลือกนายเลือกหลายครายากยิ่ง
 มาพบนายโฉดต้องตกห้วงเคืองขม


๔.กรวดน้ำคว่ำขัน

ตัดขาดไม่ขอเกี่ยวข้องด้วย

    กรวดน้ำอุทิศให้บอกลา
น้ำจิตคิดเคืองมาก่อนนี้
คว่ำขันตัดสัญญาพันผูก  นาพ่อ
ขันคว่ำบอกความชี้เลิกแล้วมิหวน
 

๕.กระเชอก้นรั่ว

    กระเชอภาชนะป้องเก็บของ
กลับรั่วเกินรับรองเก็บได้
เปรียบความเช่นชนผองสุรุ่ย สุร่ายแล
มิมุ่งออมเงินไว้จ่ายล้วนหมดเปลือง

๖.กระดังงาลนไฟ

หญิงที่เคยแต่งงานหรือผ่านผู้ชายมาแล้ว ย่อมรู้จักชั้นเชิงในการปรนนิบัติเอาใจผู้ชาย
    กระดังงาผ่านต้องไฟลน
หอมยิ่งหอมอวลชนต่างรู้
เปรียบหญิงม่ายหอมดลชายปรารถ- นาแฮ
ประสบการณ์เชิงชู้ยั่วเย้าชายหลง

๗. กระดี่ได้น้ำ
สำนวนเปรียบเทียบคนที่แสดงอาการดีใจตื่นเต้นจนตัวสั่น

    กระดี่ติดแหล่งแห้งผื่นนา
มิอาจสืบชะตาต่อได้
ฝนพรมพรั่งพรูมาเริงรื่น นักแล
ใครเช่นปลาเปรียบไซร้ย่อมต้องถูกหยัน

๘.กระดูกร้องได้
ผลสะท้อนของฆาตกรรมที่ทำให้จับตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษได้
    คนตายจากเหตุล้วนปริศนา
อาจถูกฆาตกรรมพาดับสิ้น
ตำรวจต่างตามหาเหตุแห่ง  ดับแล
ดุจดั่งกระดูกดิ้นโผล่ให้สืบสวน

๑๐.กระต่ายตื่นตูม
คนที่แสดงอาการตกใจโดยไม่ทันสำรวจให้ถ่องแท้ก่อน
    ตาลตกกระต่ายเต้นตกใจ
ฟ้าถล่มลงไผทกู่ร้อง
พาพรรคพวกบรรลัยบาดเจ็บ  ล้มแล
สอนสั่งประชาต้องสติตั้งครวญถวิล

 
๑๑.กระต่ายหมายจันทร์
ผู้ชายที่หมายปองผู้หญิงที่ฐานะสูงกว่า
    จันทร์งามกระต่ายเฝ้าเพียรมอง
สูงส่งเกินมือปองไขว่คว้า
ชายใดมุ่งจับจองหญิงศักดิ์ สูงนา
เฉกเช่นกระต่ายบ้าเบิ่งจ้องจันทร์ฉาย

๑๒.กระโถนท้องพระโรง 
ผู้ที่ใครๆ ก็พากันรุมใช้อยู่คนเดียว

     ใครใครยามคับข้อง ติดคอ
 ขากเสลดน้ำลายสอถ่มบ้วน 
กระโถนนั่นแหละนอรับถ่าย เสมอแล 
ใครต่างเรียกใช้ล้วนเช่นนั้นเปรียบกระโถน

๑๓. กลมเป็นมะนาว
หลบหลีกไปได้คล่องจนจับไม่ติด ( มักใช้ในทางที่ไม่ดี )
    มะนาวกลมย่อมกลิ้งกลอกไป
เปรียบเช่นคนเลศนัยเล่ห์ร้าย
พลิกแพลงเปลี่ยนเร็วไวผันผ่าน เสมอนอ
คือบ่อับจนคล้ายเล่ห์ร้อยกลลวง

 ๑๔.กล้านักมักบิ่น.
กล้าเกินไปมักจะเป็นอันตราย
    เหล็กกล้าแปรเปลี่ยนได้มีดขวาน
กล้าแกร่งยามตัดรานกิ่งไม้
จึงเหล็กมิทนทานคมบิ่น
คนผิกล้าเกินไซร้ส่อเค้าอันตราย

๑๕.กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม
ความลังเลใจทำให้แก้ปัญหาได้ไม่ทันท่วงที

    นำถั่วมาคั่วพร้อมกับงา
เกินสบจิตปรารถนาเสร็จพร้อม
ลังเลย่อมนำพาเหลือหนึ่ง ปรารถนาแฮ
ยามเมื่อตัดใจน้อมเมื่อนั้นเกินสาย

๑๖.กัดหางตัวเอง
พูดวกไปวนมา

อธิบายกี่ครั้งพลความ
เวียนว่ายพยายามบ่อยครั้ง
คนฟังบ่เห็นตามตัวบอก
พูดวกวนขยายยั้งเยี่ยงนี้ความหมาย

๑๗.กำขี้ดีกว่ากำตด 
ได้บ้างดีกว่าไม่ได้เลย
    ทำกิจการต่างล้วน หวังผล
นิดหน่อยยังพอทนต่อเชื้อ
ติดมือหนึ่งมีผลดีกว่า ว่างเฮย
ความบ่งบอกติดเนื้อไป่คว้าเพียงลม

๑๘.กวนน้ำให้ขุ่น
ทำเรื่องราวที่สงบอยู่อยู่แล้วให้เกิดวุ่นวายขึ้นมา

    กวน  ตะกอนสงบแล้วกลับมา
น้ำ  ขุ่นคลักอีกครา     สุดใช้
ให้  คนตัดปัญหาเหตุแห่ง เคืองนา
ขุ่น  ข่มจิตสงบไว้อย่าได้ฟื้นความ

๑๙.ก่อแล้วต้องสาน
เริ่มอะไรแล้วต้องทำต่อให้เสร็จ
    ก่อ  ฐานรูปแบบตั้งเป็นทรง
แล้ว  ไม่ทำสืบคงหมดสิ้น
ต้อง  สานต่อหมายตรงจนเสร็จ  นาพ่อ
สาน  สืบกิจทุกชิ้นก่อให้เห็นผล

๒๐.กำแพงมีหูประตูมีช่อง

การที่จะพูดหรือทำอะไรให้ระมัดระวังแม้จะเป็นความลับ
เพียงไรก็อาจมีคนล่วงรู้ได

    กำแพง  หนาอย่าได้เย็นใจ
มีหู  ฟังความนัย้แห่งถ้อย
ประตู  ปิดระวังไวความรั่ว  ถึงนา
มีช่อง  ทางเพียงน้อยเยี่ยงนี้ระวังคำ

๒๑.กิ่งทองใบหยก
เหมาะสมกัน

กิ่ง  กอใบดอกก้านเหมาะสม
ทอง  คู่หยกนิยมแต่งสร้อย
ใบ  งามกิ่งกลึงกลมเหมาะแก่  กันนา
หยก  คู่ทองเรียงร้อยเปรียบพ้องชายหญิง

๒๒.กินตามน้ำ

รับของสมนาคุณที่เขาเอามาให้โดยไม่ได้เรียกร้อง ( ใช้กับเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจ )
    สมนาคุณมอบให้จากใจ
เสร็จภารกิจเร็วไวบ่ช้า
ความหมายที่ซ่อนนัยบอกบ่ง
ของรับบารมีข้าเปล่าร้องขู่เข็ญ

 ๒๓.กินที่ลับไขที่แจ้ง
เปิดเผยเรื่องที่ทำกันในที่ลับ
หญิงสาวโดนป่าวร้องเสียหาย
ชายเสน่หากลับกลายเล่นลิ้น
แฉความเรื่องอับอายทำร่วม  กันนา
เผยแผ่ออกมาสิ้นสิ่งนี้บ่ควร

๒๔.กินนอกกินใน
เอากำไรในการซื้อขายทั้งในราคาและนอกราคาที่กำหนด
    กิน  โกงการจัดซื้อสิ่งของ
นอก  กัดกินกอบกอง  จากซื้อ
กิน  ในจากขายปอง ผลประ-  โยชน์แล
ใน  นอกกำไรอื้อต่างล้วนรับผล

๒๕.กินน้ำตาต่างข้าว
ร้องให้เศร้าโศกจนไม่เป็นอันกิน

    ระทมระทดท้อทุกข์ทน
เศร้าโศกเพราะอับจนทุกข์แท้
น้ำตาหลั่งรินวนมิขาด  สายนา
ข้าวกับกลับเมินแล้เพราะเศร้าโศกตรม

๒๖.กินน้ำใต้ศอก

จำต้องยอมเป็นรองเขา 

( เมียน้อยที่ต้องยอมลงให้แก่เมียหลวง )

    กิน  ของเขาที่เจ้าของมี
น้ำ  จิตตอบไมตรียากให้
ใต้  คำค่อนขอดขจีเหลือเจ็บ  ทรวงนอ
ศอก  ผ่านหยดน้ำไซร้อดได้อิ่มเอม

๒๗.กินน้ำเห็นปลิง
รู้สึกตะขิดตะขวงใจกินไม่ลง

    กิน  น้ำกลับไม่สู้สนิทใจ
น้ำ  แอ่งปลิงระไวหวุ่นว้า
เห็น  ปลิงดื่มมิไหวจิตขวง  นาพ่อ
ปลิง  เปรียบคนมิกล้าขัดข้องอายใจ

๒๘.ไก่แก่แม่ปลาช่อน
หญิงที่ค่อนข้างมีอายุ ทีมีมารยาเล่ห์เหลี่ยมมาก
ไก่แก่ชาญเชี่ยวด้วยเชิงชัย
ปลาช่อนหลายขวบขัยแก่กล้า
สำนวนซ่อนความนัยบอกกล่าว
สาวใหญ่ดูทีช้าเล่ห์นั้นมากหลาย

๒๙.กินอยู่กับปากอยากอยู่กับท้อง
รู้ดีอยู่แล้วเสแสร้งทำไม่รู้

    กินอยู่  ใครต่างรู้เห็นการณ์
กับปาก  ขยับกลับพาลไป่รู้
อยากอยู่  อย่างยาวนานกลบเกลื่อน  ตนแล
กับท้อง  ตนเองสู้ ปัดป้องรู้เห็น

๓๐.เก็บดอกไม้ร่วมต้น
เคยทำบุญกุศลร่วมกันมาแต่ในชาติก่อนจึงมาอยู่ร่วมกันในชาตินี้

เก็บดอกไม้ร่วมต้นกันมา
ความซ่อนบอกภาษาว่าไว้
ทำบุญร่วมชะตาชาติก่อน  นี้เฮย
ผลก่อเกิดดลให้ชาตินี้พบกัน