วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

แหล่งกำเนิดของสำนวนไทย

แหล่งกำเนิดของสำนวนไทย

เพิ่มคำอธิบายภาพ

           สำนวนเป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งของภาษาไทย เพราะเป็นคำพูดที่กลั่นกรองขึ้น เพื่อความสละสลวยของภาษาเป็นถ้อยคำที่คมคายกว่าคำพูดธรรมดา เป็นคำพูดที่รวมใจรวมความยาวๆให้สั้นลงได้ ก็จะทำให้ผู้ฟังสามารถเข้าใจง่าย ๆ
ฉะนั้นการศึกษาถ้อยคำประเภทนี้ไว้ เพื่อใช้ให้ถูกต้องเหมาะสมกับเนื้อเรื่องที่จะพูดจึงมีความจำเป็น สำนวนที่เราใช้กันในภาษาไทยนั้น ถ้าเราพิจารณาดูจะเห็นว่ามีมูลเหตุที่เกิดแตกต่างกันซึ่ง พอสรุปได้ดังนี้

๑.) เกิดจากธรรมชาติ เช่น ตื่นแต่ไก่โห่ น้ำซึมบ่อทราย ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น ปลาหมอตายเพราะปาก , แมลงเม่าบินเข้ากองไฟ เป็นต้น
๒.) เกิดจากการกระทำ เช่น แกว่งเท้าหาเสี้ยน ปลูกเรือนคร่อมตอ พายเรือคนละที ชุบมือเปิบ ปากว่ามือถึง ปิดทองหลังพระ เป็นต้น
๓.) เกิดจากศาสนา เช่น ขนทรายเข้าวัด ตักบาตรถามพระ ทำคุณบูชาโทษ คว่ำบาตร ผ้าเหลืองร้อน แพ้เป็นพระ ชนะเป็นมาร เป็นต้น
๔.) เกิดจาก นิยาย นิทาน ตำนาน และ พงศวดาร เช่น ลูกทรพี ปากพระร่วง กบเลือกนาย กระต่ายตื่นตูม เห็นกงจักรเป็นดอกบัว ชักแม่น้ำทั้งห้า กิ้งก่าได้ทอง เป็นต้น
๕.) เกิดจากแบบแผนประเพณีและความเชื่อ เช่นผีซ้ำด้ำพลอย กงกำกงเกวียน กระดูกร้องได้
กรรมตามทัน คนตายขายคนเป็น เป็นต้น

๖.) เกิดจากอุบัติเหตุ เช่น ตกกระไดพลอยโจน ตกน้ำไม่ไหลตกไฟไม่ไหม้ ดับไฟต้นลม เป็นต้น
๗.) เกิดจากการละเล่นหรือกีฬา เช่น รุกฆาต ไม่ดูตาม้าตาเรือ เข้าตาจน ไก่รองบ่อน เป็นต้น
๘.) เกิดจากความประพฤติ เช่น หาเช้ากินค่ำ กินข้าวร้อนนอนตื่นสาย ตำข้าวสารกรอกหม้อ ขี้เกียจสันหลังยาว เป็นต้น
๙.) เกิดจากอวัยวะ เช่น เส้นใหญ่ ตาเหลือง ตีนแมว ปากบอน ตีนเท่าฝาหอย หัวหกก้นขวิด เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น